หากคุณถูกสัตว์เลี้ยงกัด หรือข่วน คุณควรจะต้องดูแลแผลทันทีเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อของแบคทีเรีย หรือรักษาแผลทันทีเพื่อไม่ให้บาดเจ็บรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในบางกรณีหลังจากถูกสุนัขกัดหรือแมวข่วนอาจจะเป็นแผลเล็กๆ ที่เราสามารถรักษาเองได้ หรือถ้ารุนแรงมากก็ต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันที เรามาดูกันว่าถ้าสัตว์กัดหรือข่วนจะต้องทำอย่างไรดี
1.สอบถามประวัติวัคซีนของสัตว์เลี้ยง
สิ่งแรกที่คุณควรทำหลังจากโดนสัตว์เลี้ยงกัด หรือข่วน คือออกห่างสัตว์เลี้ยง เพื่อไม่ให้เราโดนกัดอีกครั้ง จากนั้นสอบถามเจ้าของสัตว์เลี้ยง (ถ้ามี) ว่าน้องฉีดวัคซีนอะไรมาบ้าง ฉีดพิษสุนัขมาบ้างหรือยัง เพื่อที่เราจะได้รักษาถูก แม้ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงของคุณเอง ถึงแม้น้องจะทำตัวน่ารักๆ แต่ใครจะไปรู้วันไหนน้องอารมณ์ไม่ดี น้องก็อาจจะกัดเราได้ ดังนั้นควรฉีดวัคซีนให้ครบเช่นกัน
2. ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ประเภทของการปฐมพยาบาลที่คุณให้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกัด
- ถ้าไม่เป็นแผล ให้ใช้น้ำเกลือล้างบริเวณแผลที่ถูกกัดหรือข่วน โดยแนะนำให้ใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อ โซเดียมคลอไรด์ 0.9% และใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดนไอโอดีน
- ถ้าเป็นแผลสด ให้ใช้น้ำเกลือล้างแผล แนะนำให้ใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อ โซเดียมคลอไรด์ 0.9% หาสำลีกดเบาๆ รอบๆ แผลเพื่อให้เลือดออกเล็กน้อย เพื่อเราจะได้ไล่สิ่งแปลกปลอมภายใต้ชั้นผิวหนังส่วนนอก
- ถ้ามีเลือดออก ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดแผล และกดเบาๆ จากนั้นใช้น้ำเกลือ ปราศจากเชื้อล้างแผล และรอบๆ แผล ตามด้วยยาฆ่าเชื้อ พันแผลเพื่อป้องกันแผลเปิดและลดโอกาสการติดเชื้อ
หากปฐมพยาบาลแล้วอาการแผลแย่ลง รู้สึกเจ็บมากขึ้น หรือมีไข้ ควรไปพบแพทย์ทันที
3. ไปพบแพทย์ เพื่อฉีดยากันบาดทะยักและพิษสุนัขบ้า
เราจำเป็นต้องไปพบแพทย์เมื่อมีอาการ หรืออยู่ในสถานการณ์ตามนี้
- เกิดจากสุนัขที่ไม่ทราบประวัติวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หรือโดยสุนัขที่มีอาการผิดปกติหรือมีอาการป่วย
- เลือดไหลไม่หยุด
- มีอาการปวดอย่างรุนแรง
- แผลลึกเผยให้เห็นกระดูก เส้นเอ็น หรือกล้ามเนื้อ
- อวัยวะทำงานไม่ปกติ เช่น ไม่สามารถงอนิ้วได้
- แผลดูแดง บวม หรืออักเสบ
- มีหนองหรือของเหลวรั่วไหล
- จำไม่ได้ว่าฉีดบาดทะยักครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
- รู้สึกอ่อนแอ มึนงง หรือเป็นลม
- กำลังมีไข้
หากคุณโดนสุนัขที่มีอาการของโรคพิษสุนัขบ้ากัด เช่นสุนัขมีฟองที่ปาก มีอาการคุ้มคลั่ง คุณควรรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดนทันที เพราะโรคพิษสุนัขบ้าหากไม่รักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าได้รับการดูแลจากแพทย์ทันท่วงที สามารถรักษาอาการพิษสุนัขบ้าและรอดจากการเสียชีวิตได้ถึง 100%
4. วิธีป้องกันการติดเชื้อ
หลังจากที่ปฐมพยาบาล ตรวจเช็ควัคซีนของสัตว์เลี้ยงสุนัข ไปพบแพทย์ (ถ้าจำเป็น) คุณควรทำความสะอาดแผลให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อของแผล ซึ่งการดูแลแผลจากการถูกสัตว์เลี้ยงกัด หรือข่วนสุนัขหรือแมวกัดนั้นเราแนะนำให้ทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือKlean&Kare ล้างแผล น้ำเกลือปราศจากเชื้อ โซเดียมคลอไรด์ 0.9% เป็นประจำทุกวัน และใส่ยาฆ่าเชื้อ พร้อมดูแลแผลให้แห้ง
ที่มาข้อมูล:
- https://www.cdc.gov/rabies/prevention/index.html
- https:/www.pobpad.com/แผลติดเชื้อ/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3122494/
- https://saovabha.redcross.or.th/download/2559/thailand%20Rabies-Free/QsmiGuidline2016.pdf