น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อร่างกาย เรามีน้ำในร่างกายถึง 70% ทุกเซลล์ในร่างกายของเราต้องการน้ำเพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง นั่นคือเหตุผลที่เราต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ และเราจำเป็นต้องเลือกน้ำที่ดีกับร่างกาย เพื่อให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้ดีและมีร่างกายแข็งแรง
การดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นเรื่องสำคัญ แต่การเลือกน้ำเพื่อชงละลายยาและอาหารเสริมก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน องค์การอนามัยโลก WHO ประเมินว่าผู้คนกว่า 2.1 พันล้านคนบนโลกไม่สามารถเข้าถึงน้ำที่สะอาดปลอดภัยดังนั้นเราต้องมั่นใจว่า น้ำที่เราเลือกเป็นน้ำสะอาด ทานแล้วไม่ติดเชื้อ ไม่มีแบคทีเรียมาทำร้าย เรามาดูกันว่า น้ำสเตอไรล์ น้ําดื่ม และ น้ำเปล่า ต่างกันอย่างไร ควรเลือกน้ำชนิดไหนดี
น้ำสเตอไรล์
น้ำสเตอไรล์ ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ด้วยการกรองและฆ่าเชื้อหลายขั้นตอนก่อนนำมากลั่นและบรรจุในขวดสะอาดได้มาตรฐาน แล้วนำไปผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูงอีกครั้งในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อความมั่นใจ
- ข้อดีของน้ำสเตอไรล์ คือ มั่นใจได้ว่าบริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปน 100% เหมาะกับคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือเด็กทารก
- ข้อดีของการเลือกน้ำสเตอไรล์ในการชงละลาย คือ ไม่มีแร่ธาตุต่างๆ มารบกวนการละลาย ทำให้ละลายได้ดี
น้ำดื่ม
น้ำดื่มเป็นน้ำที่ผ่านการกรอง และฆ่าเชื้อด้วย UV มีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เหมาะสำหรับการบริโภค
- ข้อดีของน้ำดื่ม คือ สะอาดกว่าน้ำประปา และหาซื้อได้ทั่วไป
- ข้อเสียของน้ำดื่ม คือยังอาจมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์อยู่บ้าง และอาจมีแร่ธาตุต่างๆ มารบกวนการละลาย
น้ำประปา
มีอยู่ทุกที่ ทั้งห้องน้ำ ห้องครัว และนอกบ้าน น้ำประปา ทำให้ใสโดยการตกตะกอน และฆ่าเชื้อโดยการใส่คลอรีน
- ข้อดีของน้ำประปาคือหาได้ทุกที่
- ข้อเสียของน้ำประปาคือมีคลอรีนและอาจมีเชื้อโรค แบคทีเรีย เชื้อรา และปรสิตปนเปื้อนจากการถูกลำเลียงมาในท่อที่ไม่แน่ใจว่าสะอาดเพียงพอหรือเปล่า ไม่เหมาะจะนำมาบริโภคโดยตรง
ควรเลือกน้ำชนิดไหนชงละลายยาและอาหารเสริม?
น้ำสเตอไรล์ (Sterile Water 100%) เป็นน้ำที่เหมาะสำหรับใช้ชงละลายยา อาหารเสริม และอาหารทางการแพทย์สำหรับทารก โดยเฉพาะทารกที่มีโรคประจำตัว เพราะปราศจากเชื้อ และไม่มีสารอื่นๆ มาเจือปน มั่นใจได้เลยว่าชงละลายได้ดี
ที่มาข้อมูล:
- https://www.mwa.co.th/download/annual_report/pp_web_50/FSCommand/section37.pdf
- https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/drinking-water
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19171692