สิว ปัญหาสำหรับคนทุกเพศทุกวัย รู้หรือไม่ว่านอกจากเรื่องสุขลักษณะแล้ว การทานอาหารที่ไม่เหมาะสมก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดสิวด้วยเช่นกัน เรามาดูกันว่าการรับประทานอาหารสามารถกระตุ้นการเกิดสิวได้อย่างไร แล้วเราควรเลือกทานอะไรดีหากไม่อยากเผชิญกับปัญหานี้
สิวเกิดจากอะไร?
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับผิวหนังสามารถช่วยให้รู้ว่าสิวเกิดขึ้นได้อย่างไร พื้นผิวของผิวหนังถูกปกคลุมด้วยรูเล็กๆ ที่เชื่อมต่อกับต่อมน้ำมันหรือต่อมไขมันใต้ผิวหนัง โดยต่อมน้ำมันจะผลิตของเหลวที่เรียกว่าซีบัม และต่อมน้ำมันจะส่งซีบัมขึ้นสู่ผิวผ่านช่องบางๆ ที่เรียกว่ารูขุมขน
สิวเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนเกิดการอุดตันด้วยหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วไปอุดตันรูขุมขน หรือร่างกายผลิตน้ำมันที่ชั้นผิวหนังมากจนเกินไป ยิ่งกลุ่มซึ่งวัยรุ่นที่มีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเพื่อเจริญเติบโตสูงมีโอกาสทำให้ต่อมน้ำมันผลิตน้ำมันส่วนเกินออกมามากจนเกินไป จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดสิวได้นั่นเอง
การรับประทานอาหารส่งผลต่อผิวหนังอย่างไร?
อาหารบางชนิดทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นได้เร็วกว่าอาหารประเภทอื่นๆ เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่าอินซูลินออกมา ซึ่งการมีอินซูลินในเลือดมากเกินไปอาจทำให้ต่อมน้ำมันผลิตน้ำมันออกมามากยิ่งขึ้น
อาหารที่กระตุ้นการผลิตอินซูลิน ได้แก่:
- พาสต้า
- ข้าวสีขาว
- ขนมปังขาว
- น้ำตาล
เนื่องจากอาหารเหล่านี้เป็นแป้งหรือเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจึงหลั่งสารอินซูลินออกมาเพื่อเผาผลาญ
การทานช็อกโกแลตที่หลายๆ คนเชื่อว่าทำให้เป็นสิว ทางงานวิจัยของคลินิกโรคผิวหนังและความงามของสหรัฐเปิดเผยว่าดาร์กช็อกโกแลตไม่ได้ทำให้เป็นสิว แต่เป็นตัวน้ำตาลที่ผสมในช็อกโกแลตต่างหากที่ส่งผล นักวิจัยยังระบุอีกว่า อาหารตะวันตกทำให้เป็นสิวมากกว่าอาหารเอเซีย เพราะในอาหารตะวันตกมักพบสารกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่สามารถทำให้น้ำมันส่วนเกินถูกสร้างขึ้นและหลั่งโดยต่อมน้ำมัน จึงทำให้เกิดสิว โดยอาหารตะวันตกมักประกอบด้วย
- คาร์โบไฮเดรตระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- นม
- ไขมันอิ่มตัว
- ไขมันทรานส์
อะไรบ้างคืออาหารลดสิว?
อาหารที่มีน้ำตาลต่ำ
การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ สามารถป้องกันและรักษาสิวได้ ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Academy of Dermatology นักวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและมีโปรตีนสูงเป็นเวลา 12 สัปดาห์จะช่วยรักษาสิวในผู้ชาย และยังทำให้น้ำหนักลดลงอีกด้วย
สังกะสี หรือ Zinc
การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสังกะสีอาจมีประโยชน์ในการป้องกันสิว ซึ่งอาหารที่อุดมด้วยสังกะสี ได้แก่
- เมล็ดฟักทอง
- เม็ดมะม่วงหิมพานต์
- เนื้อวัว
- ไก่งวง
- Quinoa
- ถั่ว
- อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปู
ในการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน BioMed Research International Journal นักวิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับสังกะสีในเลือดและความรุนแรงของสิว สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาของผิวหนัง รวมทั้งควบคุมระดับเมตาบอลิซึมและฮอร์โมน นักวิจัยพบว่าสังกะสีในระดับต่ำเชื่อมโยงกับกรณีสิวที่รุนแรงมากขึ้น พวกเขาแนะนำให้เพิ่มปริมาณสังกะสีในอาหารเป็น 40 มก. ต่อวันเพื่อรักษาผู้ที่เป็นสิวอย่างรุนแรง
วิตามิน A และวิตามิน E
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of Cutaneous and Ocular Toxicology นักวิจัยพบว่าถ้าร่างกายมีวิตามิน A และ E ต่ำจะมีโอกาสสูงที่ทำให้เกิดสิว ดังนั้นผู้ที่เป็นสิวจะสามารถลดความรุนแรงของสิวได้โดยการเพิ่มการบริโภคอาหารที่มีวิตามินเหล่านี้
สารต้านอนุมูลอิสระและกรดไขมันโอเมก้า 3
โอเมก้า-3 เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่พบในพืชและแหล่งโปรตีนจากสัตว์บางชนิด เช่น ปลาและไข่ สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารเคมีที่ต่อต้านสารพิษที่สร้างความเสียหายในร่างกาย โอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการอักเสบของสิวด้วยกันได้ พบว่าผู้ที่ทานโอเมก้า 3 และอาหารเสริมสารต้านอนุมูลอิสระทุกวันสามารถลดสิวและทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้ เนื่องจากสิวมักทำให้เกิดความทุกข์ทางอารมณ์
ดังนั้นการทานอาหารที่ไม่เหมาะสมต่อร่างกายก็เป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้ นอกจากทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ผู้ที่เป็นสิว ควรจะต้องดูแลแผลสิวด้วยเช่นกัน อย่างเช่น การล้างหน้าให้ถูกวิธี การเช็ดหน้าด้วยคลีนแอนด์แคร์ น้ำเกลือปราศจากเชื้อ ตัวยาโซเดียมคลอไรด์ 0.9% เพื่อเช็ดทำความสะอาดร่วมกับยารักษาสิว เป็นต้น
ที่มาข้อมูล:
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4025515/
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17448569/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4135093/
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23826827/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2577647/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2836431/
- https://journals.lww.com/jewds/Fulltext/2011/07000/Role_of_diet_in_acne__a_descriptive_study.3.aspx